Posts filed under ‘Review’

Review: LEGO around Osaka

*บทความนี้เป็น Review สุดท้ายในส่วนที่เกี่ยวกับร้านเลโก้ใน Osaka ครับ

หลังจากที่ได้มีโอกาสไปเที่ยว Osaka, Japan มาหลายครั้ง และพยายามหาซื้อเลโก้รอบๆ Osaka ก็หลายรอบ ผมได้บทสรุปบางอย่างดังนี้

  • คนญี่ปุ่นมีความรักชาติสูง ของเล่นส่วนใหญ่ที่เราเห็นขายกันก็จะเป็นของเล่นญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ เราจะเห็นของเล่นอย่าง Gundam, Anpanman หรือ One Piece วางขายเกลื่อน ในขณะที่ถ้าจะหาซื้อเลโก้ก็ต้องไปร้านแบบ Special Store อย่าง LEGO Store ซึ่งมีอยู่ไม่มากใน Osaka สัดส่วนของเด็กที่เล่นเลโก้จึงน้อยกว่าของเล่นประเภทอื่นมาก
  • ในบรรดาของเล่นประเภท Construction Toys เลโก้ดูจะเป็นของเล่นที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ตัวต่อที่ผลิตในญี่ปุ่นเอง ขณะที่เลโก้จีนไม่ค่อยมีโอกาสแทรกเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่นได้
  • คนที่เล่นของเล่นใดๆ รวมถึงเลโก้ มักจะให้ความทุ่มเทในของเล่นกลุ่มนั้นๆ อย่างจริงจัง เราจึงเห็นเด็กๆ เหล่านี้เติบโตขึ้นมาก็ยังคงมีงานอดิเรกเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับเลโก้แล้ว เราจะเห็นวัยรุ่นที่เล่นเลโก้ตั้งแต่เด็กๆ มาวันนี้เพื่อจัดแสดงผลงานที่พวกเค้ารักตั้งแต่เด็กๆ และเอาจริงเอาจังกับการต่อเลโก้มาก
  • ประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องของราคา ในปัจจุบันค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ทำให้ราคาของเลโก้ดูเหมือนถูกลง แต่เมื่อคิดอย่างจริงจังแล้ว ราคาของเลโก้ในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้ต่างจากในประเทศไทยมากนัก ดังนั้นการซื้อเลโก้กลับมาเมืองไทย อาจจะดูว่าไม่ค่อยคุ้ม ยกเว้นแต่ท่านจะไปเจอชุดเลโก้ที่ประเทศไทย Sold out ไปแล้ว นอกจากนี้ราคาแต่ละที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน (ยกเว้นมีโปรโมชั่น) แต่สำหรับของที่ระลึกอื่นๆ น่าซื้อมาก ยิ่งใครได้มีโอกาสแวะไป LEGOLand ที่นาโกย่า ที่นั่นจะมีของที่ระลึกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหมวก เสื้อผ้า กระเป๋า เป้ พวงกุญแจ กระติกน้ำ ร่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยมีขายในร้านค้าทั่วไป แม้ LEGO Store ก็ยังไม่ค่อยมีของพวกนี้ขาย

สรุปใครที่มีโอกาสไปเที่ยวแถบ Osaka Kansai ไม่ต้องเสียเวลาหอบหิ้วเลโก้ชุดใหญ่ๆ กลับมาให้หนักกระเป๋า เพราะราคาไม่ค่อยแตกต่างจากประเทศไทยครับ (เผลอๆ ช่วง Sale สินค้าในไทยอาจจะถูกกว่าด้วยซ้ำ)

Reviwer: พิจารณ์ (Pijarn)

#เลโก้ #ตัวต่อ #ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ #LEGO #legomocs #legomoc #legomodelbuilder

25/08/2023 at 3:59 pm ใส่ความเห็น

Review– How to Build LEGO Houses: Go on a Journey to become a better builder

ชื่อหนังสือ: How to Build LEGO Houses

ผู้แต่ง: Hannah Dolan

กลุ่ม:หนังสือ

ปีที่ออก:2021

ของแถม:ไม่มี

ราคาต่างประเทศ: 9.99 ปอนด์

ราคาประเทศไทย: 465 บาท (Asia Books)

สำนักพิมพ์: DK

ขนาดหน้า:20×26 cm

จำนวนหน้า: 100 หน้าสีทั้งหมด

จุดเด่น:

  1. ภาพสวยงามตามสไตล์ของสำนักพิมพ์ DK
  2. เนื้อหาและไอเดียมีอยู่ในช่วงเริ่มต้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเอาดีในงาน MOC
  3. เจาะเนื้อหาเฉพาะอาคารบ้านเรือน รวมทั้งการตกแต่ง
  4. ในหนังสือมีการใช้ชิ้นส่วนใหม่ๆ ที่เลโก้ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้คนอ่านสามารถเข้าถึง และหาซื้อชิ้นส่วนได้ไม่ลำบากมาก

จุดด้อย:

  1. การจัดหมวดหมู่ของเนื้อหายังยากต่อการเข้าใจ และการค้นหา เหมือนต้องการให้ผู้อ่านติดตามไปเรื่อยๆ ทีละหน้าจากต้นจนจบ
  2. การขาด index ซึ่งปกติเป็นหัวใจของหนังสือภาษาอังกฤษที่ควรจะต้องมี (แม้ว่าจะเป็นหนังสือเด็กก็ตาม)
  3. ภาพผลงานทั้งหมด มีบางส่วนที่โชว์ว่าใช้ชิ้นส่วนใดบ้าง ขณะที่บางส่วนโชว์แต่ภาพและการบรรยายสวยๆ

สรุป: หนังสือเล่มนี้เหมาะกับเด็กทั้งชายและหญิงที่มีความสนใจต่อเลโก้ในแนวบ้านและอาคาร สามารถให้ไอเดีย และแนวทางการต่อได้เป็นอย่างดี

คะแนน:7.5/10

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: books.google.co.th

29/12/2022 at 3:08 am ใส่ความเห็น

Review– Brick City: London

ชื่อหนังสือ: Brick City: London

ผู้แต่ง: Warren Elsmore

กลุ่ม:หนังสือ

ปีที่ออก:2018

ของแถม:ไม่มี

ราคาต่างประเทศ: 9.99 ปอนด์

ราคาประเทศไทย: 100 กว่า บาท (หนังสือลดราคาในงานมหกรรมหนังสือ)

สำนักพิมพ์: Lonely Planet

ขนาดหน้า:15×20 cm

จำนวนหน้า: 128 หน้าสีทั้งหมด

จุดเด่น:

  1. ภาพสวยงาม แม้จะไม่ใช้พื้นที่สีขาวแบบของสำนักพิมพ์ DK
  2. มีแบบการต่อผลงานขนาดเล็กหลายชิ้น
  3. ผลงานของ Warren เป็นที่ยอมรับมานาน ผลงานทั้ง 20 แบบของ London ก็เหมือนกัน ทำออกมาได้อย่างสวยงาม

จุดด้อย:

  1. เป็นแนวของการท่องเที่ยวผ่านการต่อตัวต่อ 20 แบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่โดดเด่นของเมืองนั้นๆ แต่เนื่องจากพยายามให้การต่อใช้ชิ้นส่วนไม่มาก พยายามให้งานออกมาไม่ซับซ้อน ทำให้ชิ้นงานออกมามีหลาย Scale ไม่สามารถเอามาตั้งรวมกันได้
  2. ตัวหนังสือค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับหนังสือของ DK ที่มีทั้งขนาดใหญ่กว่าและจำนวนหน้าที่เยอะ อาจเป็นเพราะ Lonely Planet เป็นสายการท่องเที่ยวไม่ใช่หนังสือ แต่การทำหนังสือแบบนี้ออกมาเหมือนกับเป็นการโปรโมทการท่องเที่ยวในเมืองนั้นไปในตัว

สรุป: หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนรักเลโก้ที่สนใจไปเที่ยวเมืองนั้นๆ เมื่อกลับมาดูหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะอยากทำอะไรเป็นที่ระลึกถึง icon ต่างๆ ของเมืองนั้นๆ ใน series นี้เท่าที่ทราบก็จะมีเมือง London, Paris และ New York สำหรับผมที่ไม่เคยไป London พอเห็นผลงานที่เป็นเลโก้ก็อยากไปเมืองนั้น เพื่อที่จะไปดูของจริงเหมือนกัน สำหรับใครที่จะสนใจสั่งซื้ออาจจะต้องรองานมหกรรมหนังสือรอบหน้าครับ แล้วจะได้ส่วนลดด้วย

คะแนน:7/10

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: books.google.co.th

10/11/2022 at 3:18 am ใส่ความเห็น

วิวัฒนาการของ LEGO Police Station

เนื่องจาก Police Station เป็นชุดที่ออกมาในหลาย Theme ไม่ว่าจะเป็น DUPLO, Jack Stone รวมถึง System แต่จะเปรียบเทียบเฉพาะกลุ่ม System เท่านั้น

ภาพรวม

สรุปสถานีตำรวจที่นับว่าเป็น Flagship ของชุด City มาตลอด ตั้งแต่ปี 1976-2022 (ปัจจุบัน) รวม 46 ปี เลโก้ได้ผลิตสถานีตำรวจมากถึง 21 ชุด หรือ ประมาณ 2 ปีต่อชุด โดยใช้ชื่อชุดว่า Police Station, Police Precinct, Police HQ หรือ Police Headquarters บ้าง

Price

ด้วยความที่เป็นอาคารใช้ bricks ค่อนข้างเยอะ เลโก้จึงถือว่าเป็นชุดใหญ่ แต่เนื่องจากตั้งเป้าไปที่เด็ก จึงเหมาะกับการออกสินค้าในช่วงเทศกาล คริสมาสที่ผู้ปกครองจะนิยมซื้อของขวัญชิ้นใหญ่ๆ ให้กับบุตรหลาน ราคาจึงไม่เกิน US$99.99 มาหลายปี และน่าจะอยู่ในช่วงนี้ไปพอสมควร นอกจากนี้การที่ไม่ได้มีค่า loyalty ให้กับใครก็ทำให้เป็นที่ดึงดูดสำหรับผู้ปกครองที่ได้เลโก้กล่องใหญ่ราคาต่อชิ้นมีความคุ้มค่า

ชิ้นส่วน

จำนวนชิ้นส่วนของอาคารในช่วงแรกจะอยู่ที่ประมาณ 300 ชิ้น (ช่วง 10 ปีแรก) แต่หลังจากนั้นก็ก้าวกระโดดมาเกือบแตะ 1000 ชิ้น เราอาจจะวัดจำนวนชิ้นอะไรไม่ค่อยได้ เพราะปัจจุบันชิ้นส่วนของเลโก้มีหลายแบบที่ใช้ในการตกแต่งที่มีขนาดที่เล็กลง

ก่อนหน้านี้เลโก้เคยออก base plate มาในชุดนี้ แต่อาจจะด้วยการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หลังจากปี 2012 เลโก้ก็ลด Base plate ออกไป เปลี่ยนมาเป็น plates ขนาดเล็กหลายชิ้นแทน ดังนั้น base plate สำหรับสถานีตำรวจอาจจะกลายเป็นเรื่องในอดีตไปแล้ว นอกจากนี้เลโก้ออก base plate มาขายแยกในหลากหลายสี คนส่วนหนึ่งอาจจะชอบที่ได้เลือกซื้อ base plate ไปเติมในสีที่ตนเองชอบ

สำหรับประเภทของชิ้นส่วนที่มาใช้ในสถานีตำรวจ ส่วนมากเกือบ 95% (ประมาณเอง) จะเป็นชิ้นส่วนเดิมๆ ที่ออกมาทั้งในชุดสถานีตำรวจ และชุดอื่นๆ ไม่ได้มีชิ้นส่วนพิเศษอะไรมากนัก ยกเว้น minifigures

สำหรับอุปกรณ์ตำรวจที่พบประจำก็จะมีกุญแจมือ และวิทยุ Walkie Talkie

ลักษณะของผลงาน-อาคาร

อาคารสถานีตำรวจจะเป็นอาคารแบบ Modern หลังคาเรียบด้านบน และหลายชุดจะทำเป็นที่จอด Helicopter บนดาดฟ้า เสาสื่อสารก็จะมีเรดาห์แบบจานอยู่เสมอ ภายในไม่ค่อยเน้นการตกแต่ง แต่จะตกแต่งด้วยสติกเกอร์ (ที่ผ่านมาเคยทราบมาว่าเลโก้เรียนรู้ว่าการติดสติกเกอร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เด็กๆ ชื่นชอบ)อาคารใช้สีขาวเป็นสีหลักของอาคารมาตั้งแต่แรก ส่วนสีรองจะเป็นสีดำหรือน้ำเงิน ทั้งนี้น่าจะเข้ากับชุดตำรวจที่จะมีสีดำกับโทนสีน้ำเงิน (สีฟ้า สีน้ำเงิน สีกรมท่า) เท่านั้น

ลักษณะของผลงาน-Minifigures

เป็นไปตามการพัฒนาของ Minifigures โดยช่วงแรกจะเป็นแบบไม่มีแขน และก่อนปี 2003 จะมีเฉพาะ Figures ตำรวจ แต่พอปี 2005 ก็จะมีนักโทษใส่เสื้อลายขาวเทามาตลอด และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมาจะมีตำรวจหญิงมาด้วยเสมอ และล่าสุดมีการตั้งชื่อ Minifigures ด้วย สำหรับสถานีตำรวจแล้ว เลโก้ขยันออก Minifigures ที่มีความแตกต่างจากที่ออกมาบ่อยมาก โดยความแตกต่างของ Figures นับเป็นจุดขายของชุดสถานีตำรวจเลยทีเดียว  

สำหรับจำนวนของ Minifigures ก็อยู่ประมาณ 5-9 figures ต่อชุด ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องของนโยบายรวมของเลโก้มากกว่าว่าชุดแค่ไหน จึงจะมี Minifigures กี่ตัว

สำหรับการออกแบบชุดตำรวจจะเป็นการเลียนแบบชุดตำรวจในยุโรปและอเมริกา ที่ชุดจะเป็นสีดำบ้าง สีกรมท่า และสีน้ำเงินบ้าง การปรับเปลี่ยนสีของ figure ทำให้เกิดความ unique ได้อย่างรวดเร็ว

หลังปี 2005 ก็จะมีสัตว์อย่างสุนัขตำรวจเข้ามาด้วย

ลักษณะของผลงาน-Vehicles

แม้ว่าจะเป็นชุดสถานีตำรวจ แต่ก็จะมียานพาหนะมากกว่า 2 ในแต่ละชุด ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ตำรวจ หรือ Helicopter มาเกือบทุกชุด และเริ่มตั้งแต่ปี 2012 จะมียานพาหนะของผู้ร้ายที่เตรียมหนีมาตลอด ผู้ที่ซื้อชุดสถานีตำรวจมักจะได้ของค่อนข้างครบ ไม่จำเป็นต้องซื้อชุดอื่นมาเพิ่ม แต่ปกติเลโก้มักจะออกชุดยานพาหนะขนาดเล็ก เช่น รถ Command Unit หรือ Helicopter ที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นต้น หรือออกชุดที่เป็นฉาก action ของการโจรกรรมเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการซื้อมากขึ้น หลังๆ จึงไม่ได้มีแต่ยานพาหนะของตำรวจ แต่มียานพาหนะของผู้ร้ายที่มักจะมี feature แปลกๆ ออกมาเสมอ

Playable

ในเรื่องของการมีลูกเล่นต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่เลโก้ให้ความสำคัญมาตลอด เพื่อให้เด็กๆ ได้เล่น role-play หลังจากต่อเสร็จแล้ว โดยเริ่มจากปี 1976 ที่ใส่ยานพาหนะและ Minifigures ออกมาในชุด และเริ่มเปิดด้านหลังให้เด็กๆ สามารถหยิบ Minifigures ไปใส่ในจุดต่างๆ ได้ (สำหรับผู้ใหญ่ก็มักจะคิดว่าทำไมเลโก้ถึงได้เปิดด้านหลังเอาไว้ กะว่าจะขายของเพิ่มละซิ) แต่เวลาผ่านไปเด็กๆ มีความซับซ้อนและต้องการมากขึ้นทำให้เลโก้ต้องหาลูกเล่นใหม่ๆ มาเล่น ไม่ว่าจะเป็น ห้องลับเก็บของ ชุดยิงแหไว้จับคนร้าย ชิ้นส่วนที่มีเสียงไซเรนและแสง แต่หลังสุดดูเหมือนจะชอบผนังที่นักโทษสามารถพังออกไปได้ง่าย (เพราะออกมาหลายชุดแล้ว)

Stickers

ผู้ใหญ่อาจจะไม่ชอบ stickers เพราะติดเท่าไหร่ก็ไม่ตรง นอกจากนี้พอเวลาผ่านไป stickers เหล่านั้นก็จะขาดหรือลอกออกมา แต่สำหรับเด็กแล้วการได้ติด stickers ในจุดที่ตนเองต้องการ แบบที่เค้าต้องการเป็นความสุขอย่างหนึ่ง เราจึงจะเห็น stickers อยู่คู่กับชุดที่ออกแบบมาสำหรับเด็กอย่างชุดสถานีตำรวจ

สรุป

แม้ว่าหลังๆ เลโก้จะออกสถานีตำรวจมาค่อนข้างถี่ เรียกได้ว่าออกมาเกือบทุกปีเลย ผมเคยถามเลโก้เหมือนกันว่ามีเหตุผลใด เลโก้เคยบอกว่ากลุ่มที่เล่น City มักจะเป็นกลุ่มเด็กที่เริ่มเข้ามาเล่นเลโก้ ใน sub-theme ที่เป็น Police ก็จะเกี่ยวข้องกับ Action ซึ่งเข้ากับสไตล์ของเด็กผู้ชาย ดังนั้นในทุกๆ ปีก็จะมีเด็กใหม่ๆ ที่เข้ามาเล่นเลโก้ และออกมากี่ครั้งก็ขายได้ ทำให้เรายังคงเห็นชุดสถานีตำรวจไปอีกนาน

* ชุดสถานีตำรวจที่กล่าวมานี้ยกเว้นชุด 10278: Police Station ปี 2021 ที่แตกต่างเพราะไปเน้นสไตล์ Modular Buildings มากกว่าแม้ว่าจะเป็น Police Station ก็ตาม

28/06/2022 at 3:31 am ใส่ความเห็น

Visit the Shop: LEGO Certified Shop @ Mega Banga Na

Store Name: LEGO Certified Shop @ Mega Bang Na

Location: Level 1 Zone Blue

Store Hour: ตามเวลาห้าง

Year: ต้นเดือน พฤศจิกายน 2019

Owner: DKSH

Product:  สินค้ามีทั้งที่ขายทั่วไป และสินค้า Exclusive

Main Advantages:

  • ร้านนี้เป็นร้านที่สองของ LCS ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
  • ร้านนี้มีหน้าร้านค่อนข้างใหญ่ ดูโอ่อ่ากว้างขวางกว่าร้านทั่วไป และร้านที่ Siam Paragon
  • มี PAB แตกต่างจากที่ Siam Paragon เล็กน้อย
  • ชิ้นส่วนใน Build A Minifigure มีชิ้นส่วนใหม่ๆ ที่ Siam Paragon ไม่มีแล้ว

Disadvantages:

  • Mosaic มีขนาดเล็กกว่าที่ Siam Paragon ทั้งๆ ที่พื้นที่ว่างมีเยอะ
  • พนักงานเพิ่มเริ่มทำงาน อาจจะมีความรู้ความเข้าใจในเลโก้น้อยไปนิด

สรุป ร้าน LCS นี้เป็นร้านที่สอง เหมือนกับการยกร้านที่ Siam Paragon ไปไว้ที่ Mega Bang Na เป็นการแบ่งเบา traffic ที่จะเข้ามาในเมือง ให้สามารถซื้อเลโก้ที่ Mega Bang Na ได้

สำหรับตอนนี้เป็นช่วงฉลองการเปิดห้างใหม่ มี Promotion ที่น่าสนใจ เช่น ซื้อ 5000 จะได้ Mosaic เฉพาะของไทย (เหมือนตอนที่ LCS @ Siam Paragon และซื้อครบ 7000 จะได้ชุดร้าน LEGO Shop (ดูภาพด้านบน) ไม่แน่ใจว่า Promotion หมดเมื่อใดครับ (ในภาพแจ้งว่า Promotion ถึง 30 พย. 2019)

เรียบเรียง: พิจารณ์

ภาพ: พิจารณ์

21/11/2019 at 4:07 pm ใส่ความเห็น

Local News: ขอเชิญชม Review: Lego Hot Shot Carnival

คุณโก้หนึ่งในสมาชิกของชมรม T-LUG ได้ทำ Review ออกมาเป็นชุดที่ 2 แล้ว โดยคราวนี้เป็น Review LEGO AFOL Designer Program from BrickLink: Hot Shot Carnival ลองเข้าไปดูกันครับ น่าสนใจดี

Link: https://youtu.be/B3lAzCiYKvs

13/07/2019 at 3:44 pm ใส่ความเห็น

Review: The Little Box of LEGO Projects

ชื่อ: The Little Box of LEGO Projects (ภาพไม่เหมือนกัน แต่เนื้อหาภายในเหมือนกัน)

กลุ่ม: หนังสือ

สำนักพิมพ์: Heel

ปีที่ออก:2015

จำนวนชิ้นส่วน:Card 52 ชิ้น

จำนวน Mini Figure: ไม่มี

ราคา: 200 บาท

ราคาที่ Shop@home:US$ 9.99

คู่มือ:คู่มือขนาด 4×5.5 นิ้ว มี 104 หน้า

ปกติสำนักพิมพ์ Heel จะทำหนังสือเกี่ยวกับเลโก้ มาคราวนี้ทำเป็นการ์ด โดยมีทั้งหมด 20 แบบ (projects) ซึ่งนับเป็น Card แล้ว มีจำนวน 52 ใบ (มีเนื้อหา 2 ด้านของการ์ด)

จุดเด่น:

  • แบบ 20 แบบ มีความยากง่าย ไม่เหมือนกัน ทำให้จำนวน Card สำหรับแต่ละ Project จึงไม่เท่ากันด้วย
  • แต่ละแบบจะมี Part List แจกแจงชิ้นส่วนที่ต้องใช้อย่างละเอียด
  • แต่ละแบบ จะมีวิธีการต่อตามลำดับเหมือนกับ Building Instructions เหมือนกับของเลโก้
  • กล่องเหล็ก มีความคงทนในการเก็บการ์ดได้ยาวนาน

จุดด้อย:

  • ด้วยความที่ทำเป็นการ์ด ทำให้การ์ดแต่ละแผ่นสลับไปมากันได้ ทำให้ต้องเสียเวลาหาบ้างพอสมควร
  • ไม่ได้มีการระบุระดับความยากง่ายของการต่อ ว่าแต่ละแบบมีความยากง่ายแค่ไหน ความจริงแบบทั้งหมดควรจะทำให้มีระดับความยากง่ายที่พอๆ กัน หรือ มีการระบุความยากง่ายให้ชัดเจน เพื่อจะได้นำไปทำเป็นเกมส์เล่นกันในกลุ่มได้
  • มีการทำสีของการ์ด แต่ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการทำสีว่ามีไว้เพื่ออะไร

สรุป: Heel มีความพยายามในการทำแบบต่อเลโก้ แต่แทนที่จะทำเป็นหนังสือ ก็เลยลองทำเป็นการ์ด ความจริงแล้วไอเดียดีมาก แต่เนื่องจากแบบแต่ละแบบมีความยากง่ายไม่เท่ากัน บางแบบต้องใช้เนื้อที่ในการอธิบายการต่อมากหลายขั้นตอน ทำให้ไม่สามารถอยู่ในกระดาษแผ่นเดียวได้ ทำให้ระบบการ์ดซึ่งอาจจะทำเป็นเกมให้เล่นกันได้ ทำไม่ได้กลับกลายเป็นปัญหา เพราะการ์ดบางแผ่นต้องต่อกัน ทำให้จะหาความต่อเนื่องได้ลำบาก Heel ยังมีการ์ดสำหรับเลโก้คล้ายกันนี้อีก 2-3 ชุด

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: Brickset.com

 

26/05/2019 at 3:48 am ใส่ความเห็น

Review–How to Build Easy Creations with LEGO Bricks

ชื่อหนังสือ: How to Build Easy Creations with LEGO Bricks

ผู้แต่ง (รวบรวม): Francesco Frangioja

กลุ่ม:หนังสือ

ปีที่ออก:2017

ของแถม:ไม่มี

ราคาต่างประเทศ: จำไม่ได้

ราคาประเทศไทย: ไม่เข้ามาขายในไทย

สำนักพิมพ์: Thunder Bay Press

ISBN: 978-1-68412-540-1

ขนาดหน้า:22×28.5 ซม

จำนวนหน้า: 208 หน้าสีทั้งหมด

จุดเด่น:

  1. หนังสือ Building Instruction ฉบับนี้เหมาะสำหรับนักต่อเลโก้หน้าใหม่ เพราะคู่มือที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือแบบง่ายไม่ซับซ้อน มีชิ้นส่วนไม่มากนัก
  2. แม้จะเป็นการต่อแบบง่าย แต่ก็มีคู่มือหลายชิ้นงานที่ต่อออกมาได้อย่างน่าสนใจ เช่น หุ่นยนต์
  3. หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหลายเล่มใน Series โดยเน้นไปที่เครื่องบิน รถ เรือ และยานอวกาศ
  4. ด้วยความที่เป็นหนังสือจากทีม LUG ทำให้มีการแบ่งระดับความยากง่าย (Complexity) Functions และ Number of Parts
  5. นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังมี Link ให้สามารถ Download ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย และท้ายเล่มยังมี Link ให้สามารถ download ไฟล์เพิ่มเติมได้อีก

จุดด้อย:

  1. ดูภายนอกอาจจะเหมือนกับหนังสือเรียนเด็ก แต่ก็เพราะว่าต้องการให้มองว่าเป็นหนังสือเด็กๆ มากกว่าผู้ใหญ่

สรุป: ไม่บ่อยที่เราจะเห็นผลงานของนักต่ออิตาลี (ในกลุ่ม ItLUG) ที่แม้จะดูเป็นการต่อแบบง่ายๆ แต่ก็แฝงเทคนิคบางอย่างไว้ครับ

คะแนน:7/10

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: http://www.amazon.com

 

19/04/2019 at 2:36 pm ใส่ความเห็น

Review–Ppoinanika Ver.Brick

ชื่อหนังสือ: Ppoinanika Ver.Brick

ผู้แต่ง (รวบรวม): ไม่มีข้อมูล

กลุ่ม:หนังสือ

ปีที่ออก:2011

ของแถม:ไม่มี

ราคาต่างประเทศ: ได้มาประมาณ 1000 เยน

ราคาประเทศไทย: ไม่เข้ามาขายในไทย

สำนักพิมพ์: ไม่ปรากฏ

ISBN: ไม่มี

ขนาดหน้า: 21×29.5 ซม

จำนวนหน้า: 32 หน้าสีทั้งหมด

ภาพตัวอย่างในหนังสือ

จุดเด่น:

  1. ภาพสวยงาม และลงรายละเอียดในจุดที่น่าสนใจ
  2. ผลงานแต่ละชิ้น ไม่ธรรมดา ภาพแต่ละภาพลงรายละเอียดได้ดี เห็นด้านใน และจุดสำคัญหลายจุด

จุดด้อย:

  1. ไม่ผ่านการเป็นหนังสืออย่างสมบูรณ์ จัดพิมพ์เอง ทำให้ไม่สามารถสั่งหนังสือนี้ผ่านช่องทางปกติได้
  2. ตัวหนังสือทั้งหมดเป็นภาษาญี่ปุ่น แม้ว่าจะมีไม่มากก็ตาม
  3. เนื่องจากผลงานของแต่ละคนซับซ้อนมาก ภาพที่เห็นไม่สามารถทำให้คนซื้อหนังสือ สามารถต่อตามได้แต่อย่างไร

สรุป: หนังสือนี้เป็นการรวบรวมผลงานนักต่อเลโก้หลายคน โดยมีผลงานทั้งหมด ประกอบด้วย V2 Gundam, Konigmonster, Gaofighter, Unicorn Gundam, Tiger Ikaruga, Gedachtnis, Lancer Assault Rifle ซึ่งเป็นผลงานระดับมหากาฬ น่าเสียดายที่น่าจะเพิ่มจำนวนหน้าให้มากกว่านี้ และขยายรูปที่มีอยู่ให้ใหญ่กว่านี้จะสุดยอดมาก

คะแนน:7/10

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: พิจารณ์

 

13/03/2019 at 6:05 am ใส่ความเห็น

Review– หนังสือเลโก้ญี่ปุ่น

ชื่อหนังสือ: (อ่านไม่ออก เป็นภาษาญี่ปุ่น)

ผู้แต่ง (1รวบรวม): ต้องขอโทษด้วยครับ ความจริง ผมไปขอลายเซ็นต์เค้าด้วย

กลุ่ม:หนังสือ

ปีที่ออก:2017

ของแถม:ไม่มี

ราคาต่างประเทศ: 2980 Yen

ราคาประเทศไทย: ไม่เข้ามาขายในไทย

สำนักพิมพ์: Yoshikazu Saito

ISBN: 978-4-7981-4984-4

ขนาดหน้า:18×26 ซม

จำนวนหน้า: 320 หน้าสีทั้งหมด

จุดเด่น:

  1. มีข้อมูล Link ยัง Internet ถึงเว็บของผู้สร้างผลงานได้ ทำให้สามารถเห็นผลงานอื่นที่ไม่ได้นำมาลงในหนังสือเพิ่มขึ้น
  2. ชิ้นงานมีให้ดูมาก และมีความหลากหลาย
  3. ช่วงแรกของหนังสือมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Tips และเทคนิคในการต่อที่น่าสนใจหลายเรื่อง
  4. การถ่ายภาพที่สวยงาม

จุดด้อย:

  1. ชิ้นงานแต่ละงานมีการถ่ายภาพที่จำกัด ไม่ละเอียดทุกมุม
  2. ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร เป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด
  3. หนังสือนี้สับสนในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย โดยในเล่มมีการปูพื้นให้กับผู้เริ่มเล่นด้วย และมีชิ้นงานที่ Advanced มากๆ
  4. ประมาณ 50 หน้าเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ซึ่งสามารถหาได้จาก Internet ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้

สรุป: เป็นหนังสือเลโก้ที่ผมอ่านไม่ออกอีกเล่ม แต่อยากให้มีติดบ้านกัน โดยเฉพาะผลงานของญี่ปุ่นสวยงามและเก็บรายละเอียดได้ดีมากๆ ครับ

* หนังสือเล่มนี้ซื้อตอนที่ไปงาน Japan BrickFest 2017 แต่ไม่ได้นำมาลงครับ ขอโทษด้วย

คะแนน:8.5/10

Reviewer: พิจารณ์ (Pijarn)

ภาพ: พิจารณ์

23/12/2018 at 4:57 pm ใส่ความเห็น

Older Posts


Thai LEGO User Group

ชื่อ (ภาษาไทย): ชมรมเลโก้ประเทศไทย ชื่อ(ภาษาอังกฤษ): Thai Lego User Group (T-LUG) วันก่อตั้ง: 3 มิย 50 (อย่างเป็นทางการ) สถานที่พบปะสังสรรค์:วันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ The Street รัชดา วัตถุประสงค์ (อย่างไม่เป็นทางการ): ต้องการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการต่อเลโก้ ตลอดจนแจ้งข่าวคราวต่างๆ ในเรื่องของเลโก้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้แล้วยังคาดหวังว่าจะช่วยเหลือสังคมด้วย เช่น การอบรมเด็กและเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์จากการต่อเลโก้ การติดต่อ: ผ่านทางอีเมล์: pijarn.c@hotmail.com เป็นตัวแทนชั่วคราวของชมรมเลโก้ประเทศไทย คุณสมบัติของสมาชิก: 1. ต้องมีความสนใจและรักในการต่อเลโก้ 2. ไม่จำกัดอายุ แต่ถ้าอายุน้อยจะต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับรอง 3.ค่าสมาชิก 500 บาท ต่อปี